เสียงดัง….ใครคิดว่าไม่สำคัญ ซึ่งเสียงดังนั้นมีผลต่อชีวิตประจำวันมากจริง ๆ การได้ รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไป อาจทำให้สูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ชั่วคราวหรือถาวรได้ จึงควรป้องกันอย่างถูกวิธี
ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
- ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเครียดทางประสาท
- รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร
- ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้
- มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
- การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
ส่วนประกอบ
ภาพแสดงการได้ยินเสียง
เซลล์ขนเป็นอวัยวะ ที่ทำหน้าที่รับเสียงสูงซึ่งอยู่ที่ส่วนฐานของอวัยวะรูปก้นหอยในหูชั้นในที่มักจะถูกทำลายมากกว่าที่อื่น โดยเสียงดังจะทำให้เซลล์ขนเสื่อมหรือตาย และส่วนใหญ่จากผลการวิจัยมักจะทำลายเซลล์ขนที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต ดังภาพ
ภาพเซลล์ขนปกติ
ภาพเซลล์ขนถูกทำลาย
การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
- เสียงดังมากก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว หูอื้อประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วหายไปภายใน 24 ชม.- 6 เดือน
- หากสัมผัสเสียงดังมากกว่า 85 dB(A) ระยะเวลา 8 ชม. นาน 5-10 ปี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวรที่ความถี่สูงๆ ก่อน และการได้ยินจะไม่กลับคืนมาอีกเลย แม้จะหยุดรับเสียงเป็นเวลานาน หรือเรียกว่า ประสาทหูเสื่อมแบบประสาทรับเสียงเสียอย่างถาวร
ปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
- ความเข้มเสียง หรือ ความดังเสียง
- ความถี่ของเสียง
- ระยะเวลาการได้รับเสียงในแต่ละวัน
- จำนวนปีที่ทำงาน
- อายุของคนงาน
- การสูญเสียการได้ยินและโรคเกี่ยวกับหู
- ลักษณะสิ่งแวดล้อมที่เกิดเสียง
- ระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียง