การติดฉลากวัตถุอันตราย

วัตถุอันตรายมักถูกเก็บกักและขนส่งในปริมาณมาก ๆ การรั่วไหลโดยอุบัติเหตุของวัตุอันตรายเหล่านี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ดังกล่าวอาจสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็วเมื่อสามารถบ่งชี้และบอกลักษณะของวัตถุอันตรายได้

การติดฉลากบนภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ของวัตถุอันตราย

วัตถุอันตรายมักถูกเก็บกักและขนส่งในปริมาณมาก ๆ การรั่วไหลโดยอุบัติเหตุของวัตุอันตรายเหล่านี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ดังกล่าวอาจสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็วเมื่อสามารถบ่งชี้และบอกลักษณะของวัตถุอันตรายได้


การติดฉลากบนภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ของวัตถุอันตราย ต้องประกอบด้วย ชื่อทางการค้า และหมายเลขสหประชาชาติ ซึ่งมีอักษร UN นำหน้า (UN number) โดยข้อมูลจะต้องอ่านง่าย ติดบริเวณที่เห็นชัดเจนไม่หลุดง่าย สีตัวอักษรของเครื่องหมายต้องแตกต่างกับสีพื้นผิวภาชนะ และต้องไม่ติดทับข้อมูลอื่นของวัตถุอันตราย ดังภาพ

บนภาชนะต้องติดฉลากแสดงความเสี่ยงหลัก และ/หรือความเสี่ยงรอง ซึ่งแสดงความเป็นอันตรายของวัตถุที่บรรจุอยู่ภายใน โดยฉลากจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำมุม 45 องศา มีขนาดด้านละ 100 มิลลิเมตร มีเส้นขนาด 5 มิลลิเมตร สีเดียวกับสัญลักษณ์ในฉลากขนานกับกรอบฉลาก

สำหรับบรรจุภัณฑ์แบบ IBCs ที่มีความจุมากกว่า 450 ลิตร จะต้องติดฉลาก 2 ด้านที่ตรงข้ามกัน การติดฉลากแสดงความเสี่ยงหลักและฉลากแสดงความเสี่ยงรองให้ติดแนวเดียวกัน โดยความเสี่ยงหลักอยู่ซ้ายมือต่อด้วยความเสี่ยงรอง (อยู่ด้านขวามือ)

เครื่องหมายและป้ายบนยานพาหนะ

ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายทุกชนิดต้องติดป้าย ซึ่งแสดงความเป็นอันตรายของวัตถุที่ขนส่งอย่างน้อย 2 ด้าน ของยานพาหนะ โดยกรมการขนส่งทางบกได้นำข้อเสนอแนะของสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดป้ายวัตถุอันตรายมาใช้ ได้กำหนดให้ป้ายจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำมุม 45 องศา มีขนาดด้านละไม่น้อยกว่า 250 มิลลิเมตร มีเส้นขนาด 12.5 มิลลิเมตร สีเดียวกับสัญลักษณ์ในป้ายขนานกับกรอบป้าย ตัวเลขแสดงประเภทหรือหมวดต้องมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร และต้องมีหมายเลขสหประชาชาติ ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 65 มิลลิเมตร สีดำเขียนบนป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีส้ม ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 120 มิลลิเมตร และกว้าง 300 มิลลิเมตร มีขอบขนาด 10 มิลลิเมตร ติดไว้ใกล้กับป้ายแสดงอันตราย ดังภาพ

ในบางครั้งอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและแปลความหมายในการอ่านฉลาก แต่เราก็ควรรู้ไว้ จะได้พิจารณาอย่างคร่าวๆ ด้วยนะคะ งั้นมาทบทวนความหมายของฉลากชี้บ่งประเภทวัตถุอันตราย 9 ประเภท กันค่ะ

1. วัตถุระเบิด

2. ก๊าซไวไฟ

3. ของเหลวไวไฟ

4. ของแข็งไวไฟ

5. สารออกซิไดซ์และสารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์

6. สารพิษและสารติดเชื้อ

7.วัตถุกัมมันตรังสี

8.สารกัดกร่อน

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security