ทำไมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศต้องได้รับการฝึกอบรม

ทำไมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศต้องได้รับการฝึกอบรม

               พื้นที่อับอากาศ คือบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเพียงพอที่คนสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ แต่มีทางเข้าออกน้อย หรือจำกัดมักมีเพียง 1 – 2 ทางเข้าออกเท่านั้น ตัวอย่างเช่นถังไซโล ห้องนิรภัย ถ้ำ อุโมงค์ หลุมที่มีขนาดใหญ่ ท่อ แทงค์น้ำ พื้นที่ใต้พื้นอาคาร เป็นต้น นอกจากทางเข้าออกจะมีจำกัดแล้ว ยังอยู่ไกลจากบริเวณที่ต้องปฏิบัติงาน หรือมีขนาดคับแคบอีกด้วย มักเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งด้วยลักษณะเช่นนี้ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่ต่ำหรือน้อยเกินไปจนผลเสียกับร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน ความเข้มข้นของสารเคมีบางชนิดที่เป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดการระคายเคืองตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน และยังเสี่ยงที่จะถูกวัตถุต่าง ๆ ตกกระแทกลงมาได้มาก ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถเข้าให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

การปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย และอาจรุนแรงได้มาก

               เมื่อการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย และอาจรุนแรงได้มาก จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมของผู้ปฏิบัติงานภายในพื้นที่ดังกล่าวให้ดี เพื่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงาน สามารถป้องกันการเกิดอันตรายต่าง ๆ ในขณะปฏิบัติงาน และสามารถรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสมนั้น ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศตามที่มีกำหนดเอาไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549 ดังนี้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงาน และควรฝึกอบรมกับหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

               การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่อับอากาศ ผู้จัดการฝึกอบรมจำเป็นต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมให้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก่อนจัดการฝึกอบรมอย่างน้อย 7 วัน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามระยะเวลาที่กำหนดเต็มเวลาของหลักสูตรที่กำหนด และต้องผ่านการวัดผลและประเมินผลด้วย จากนั้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองเพื่อยืนยันว่าได้ผ่านการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมแล้ว โดยสามารถแบ่งเป็นการฝึกอบรมภาคทฤษฎี แต่ละครั้งไม่ควรมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิน 30 คน ต่อวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมครั้งละไม่เกิน 15 คน ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัตินั้น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่ปฏิบัติงานจริง หรือมีลักษณะใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงานจริงให้มากที่สุด และต้องฝึกการใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศทุกคน

หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่อับอากาศภาคทฤษฎี จำเป็นต้องมีหัวข้อพื้นฐานต่อไปนี้

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

  • ความหมาย ชนิด และประเภทของสถานที่ที่อับอากาศ รวมถึงอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • การประเมินสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน และการเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลในสถานที่อับอากาศ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงง
  • วิธีการขออนุญาตเพื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ และการขอยกเลิกการอนุญาตเพื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที
  • บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ควบคุม และผู้ให้ความช่วยเหลือในสถานที่อับอากาศ ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในพื้นที่อับอากาศ และต้องเข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติทุกคน ประกอบไปด้วย

  • เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนของบรรยากาศรอบตัว
  • เครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมีที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ในอากาศ
  • เครื่องตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมีต่าง ๆ ในบรรยากาศ ซึ่งอาจพิจารณาจากสารเคมีที่มีโอกาสปนเปื้อนอยู่ในสถานที่ปฏิบัติงานจริงได้
  • เครื่องดับเพลิงแบบพกพา
  • อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ

               นอกจากการเตรียมความพร้อมด้วยการฝึกอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ และผู้ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมแล้ว ยังจำเป็นต้องกำหนด

มาตรการการป้องกันการเกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศ มีดังนี้

  • จัดทำป้ายเตือนว่าพื้นที่ใดมีลักษณะอับอากาศ มีอันตราย และบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า ซึ่งควรติดเอาไว้บริเวณหน้าทางเข้าออก และต้องขออนุญาติก่อนเข้าปฏิบัติงานทุกครั้ง
  • ตรวจสอบชนิดและปริมาณของก๊าซพิษ ก๊าซที่ติดไฟง่าย และปริมาณของก๊าซออกซิเจนภายในสถานที่อับอากาศ ซึ่งควรมีปริมาณออกซิเจนอยู่ระหว่าง  19.5 – 23.5 ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
  • ต้องมีผู้ควบคุมที่คอยกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้าออกตลอดระยะเวลาที่ทำการปฏิบัติงาน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตตามความจำเป็นและเหมาะสม

เมื่อเตรียมความพร้อมต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ เชื่อได้ว่าจะเกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศได้เป็นอย่างดี หรือหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินและเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นมาจริง ๆ ก็จะสามารถรับมือและแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว จนลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

บทสรุป

หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่อับอากาศภาคทฤษฎี มีอะไรบ้าง

1. ความหมาย ชนิด และประเภทของสถานที่ที่อับอากาศ
2. การประเมินสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน และการเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
3. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
4. การใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลในสถานที่อับอากาศ
5. วิธีการขออนุญาตเพื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ
6. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ควบคุม และผู้ให้ความช่วยเหลือในสถานที่อับอากาศ

กำหนดมาตรการการป้องกันการเกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศ มีอะไรบ้าง

1. จัดทำป้ายเตือนว่าพื้นที่ใดมีลักษณะอับอากาศ มีอันตราย และบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้า
2. ตรวจสอบชนิดและปริมาณของก๊าซพิษ ก๊าซที่ติดไฟง่าย
3. ต้องมีผู้ควบคุมที่คอยกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงาน และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้าออกตลอดระยะเวลาที่ทำการปฏิบัติงาน
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตตามความจำเป็นและเหมาะสม


สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้าน บริการล้างทำความสะอาด

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security