ผู้ควบคุมมลพิษ คือ
ผู้ควบคุมมลพิษ คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการและดูแลมลพิษที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดกสนกับมลพิษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยสามารถแบ่งตามประเภทของมลพิษที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
- ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
- ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ
- ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายหรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือ สิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม กำหนด คุณสมบัติของผู้ควบคุม ผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545 ในกฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุประเภทและขนาดของโรงงานที่จะต้องมีผู้ควบคุมมลพิษ ประเภทใดบ้าง
อย่างไรก็ดีการเป็นผู้ควบคุมมลพิษนั้นจะมีคุณสมบัติตรงตามกับที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดด้วย โดยจะต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมทดสอบด้วย โดยแบบทดสอบจะแบ่งประเภทของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษเป็น 3 ประเภทตามที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วขั้นต้น ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งแสดงว่าคนผู้นั้นสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งอขงผู้ควบคุมระบบมลพิษได้ การสอบเป็นผู้ควบคุมระบบมลพิษสามารถสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท นอกจากนี้ผู้ควบคุมระบบมลพิษยังต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุก ๆ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ซึ่งการพิจารณาอนุมัติจะขึ้นกับดุลยพินิจของกรมโรงอุตสาหกรรม ขึ้นกับข้อบกพร่องที่พบในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมมลพิษ กรณีที่ทดสอบไม่ผ่าน ผู้สนใจจะเป็นผู้ควบคุมมลพิษยังสามารถสมัครสอบในครั้งต่อไปได้ และ
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมนั้นมีดังต่อไปนี้
- พิจารณาตรวจสอบชนิด ประเภทของเชื้อเพลิงและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีการใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน
- ทำการประเมินและตรวจสอบลักษณะของมลพิษที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน รวมถึงพิจารณาประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม คู่มือการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงงาน และแผนการฉุกเฉินของโรงงานให้มีประสิทธิภาพ ติดตามป้องกันไม่ให้มีการปล่อยมลพิษผ่านทางลัด หรือช่องทางใด ๆ ที่ทำให้มลพิษแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อม
- จัดทำรายงานผลการตรวจสอบ งานควบคุม กำกับ ดูแลการทำงานของระบบบำบัดและป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เพื่อส่งให้ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมพิจารณา
- จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณและชนิดของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษว่าจรงตามเกณฑ์ และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด การตรวจวิเคราะห์ต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอนุมัติ ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทราบผลการตรวจวิเคราะห์แล้วจะต้องทำการเก็บรักษาเอาไว้ เพื่อให้พร้อมจะส่งมอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบได้ตลอดเวลา
- หากผู้ควบคุมมลพิษไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดได้ จะต้องมีบันทึกที่ระบุปัญหาและเหตุผลเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องรายงานไปที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 15 วันทำการ นับจากวันที่ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามความรับผิดชอบที่กำหนด
- เมื่อผู้ควบคุมมลพิษไม่ประสงค์จะรับผิดชอบระบบป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้ ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการอย่างงน้อย 7 วัน
ในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การจัดการกับมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญและจำเป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดการที่ดีนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม และผู้คนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ แล้ว หลายครั้งยังส่งผลดีต่อกระบวนการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้จึงช่วยประหยัดปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ภายในโรงงานได้เป็นอย่างดี การจัดการอากาศที่ดียังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย และการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ดียังช่วยให้สามารถนำบางส่วนมาใช้ในการ Recycle จึงช่วยลดความจำเป็นในการซื้อหาทรัพยากร และยังประหยัดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้การตรวจประเมินและควบคุมอย่างสม่ำเสมอของผู้ควบคุมมลพิษจะช่วยให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ และเพื่อให้ผู้ควบคุมมลพิษสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถควบคุมและบำบัดมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้ตรงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม ทดสอบ และขึ้นทะเบียนตามแนวทางที่กรมโรงงานกำหนด นอกจากนี้ทางโรงงานยังต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงแผนการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันอย่างการเกิดเพลิงไหม้ เกิดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล หรือการฟุ้งกระจายของสารเคมี เป็นต้น รวมถึงดำเนินการผึกอบรมและฝึกซ้อมตามความจำเป็นหรือตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความพร้อมที่จะจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดีที่สุด
ผู้ควบคุมมลพิษ คือ
คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการและดูแลมลพิษที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษทั้งน้ำ อากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมนั้นมีดังต่อไปนี้
1. พิจารณาตรวจสอบชนิด ประเภทของเชื้อเพลิงและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีการใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน
2. ทำการประเมินและตรวจสอบลักษณะของมลพิษที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน
3. ดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และปฏิบัติตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
4. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบ งานควบคุม กำกับ ดูแลการทำงานของระบบบำบัดและป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ
5. จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณและชนิดของสารที่ก่อให้เกิดมลพิษว่าจรงตามเกณฑ์ และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด
6. หากผู้ควบคุมมลพิษไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่กำหนดได้ จะต้องมีบันทึกที่ระบุปัญหาและเหตุผลเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
7. เมื่อผู้ควบคุมมลพิษไม่ประสงค์จะรับผิดชอบระบบป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้ ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการอย่างงน้อย 7 วัน
สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้านบริการที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมมลพิษ
Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”
ติดต่อเราได้ที่
Head Office
02-8137550-1
02-8137552
Amata City Chonburi
089-2012642