น้ำใต้ดิน ดัชนีชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรน้ำที่สำคัญ

น้ำใต้ดิน ดัชนีชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรน้ำที่สำคัญ

แหล่งน้ำธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

คือ น้ำในบรรยากาศ หรือไอน้ำและเมฆฝน น้ำผิวดินหรือน้ำท่า หรือน้ำตามแหล่งน้ำอย่างแม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ และน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล การไหลเวียนของน้ำมีลักษณะเป็นวัฎจักร กล่าวคือน้ำในบรรยากาศจะตกลงมาสู่พื้นโลก บางส่วนจะถูกกักเก็บเอาไว้ตามแหล่งน้ำผิวดิน อย่างแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ต่าง ๆ แต่จะมีน้ำผิวดินบางส่วนที่ไหลซึมลงไปสู่ใต้ดิน ซึ่งน้ำเหล่านี้จะถูกกักเก็บไว้ในช่องว่างระหว่างชั้นดิน ชั้นหิน ชั้นตะกอน หรือชั้นกรวด โดยน้ำที่ไหลสู่ใต้ดินและไหลซึมอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่ไม่ลึกจากผิวดินมากนักมักถูกเรียกว่าน้ำในดิน ซึ่งในฤดูแล้งน้ำในดินลักษณะนี้อาจถูกความร้อนจากแดดจนระเหยแห้งไปได้ แต่ก็จะมีน้ำบางส่วนที่สามารถไหลซึมลึกลงไปใต้ดินชั้นต่อไปได้อีก สุดท้ายน้ำเหล่านั้นอาจถูกกักเก็บเอาไว้ในช่องว่างระหว่างตะกอน หรือรอยแตกของชั้นดิน ที่เป็นชั้นหิน ตะกอน หรือกรวด เกิดเป็นน้ำบาดาล ซึ่งป็นแหล่งน้ำที่สำคัญหนึ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคมาช้านานแล้ว ตามธรรมชาติน้ำบาดาลนับเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เพราะมีชั้นดินทำหน้าที่เป็นตัวกรองขจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกไปแล้ว แต่ในปัจจุบันเมื่อมีความเจริญ และความหนาแน่นของชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้คุณภาพของน้ำบาดาล และแหล่งน้ำอื่น ๆ เปลี่ยนแปลงไป

  ในปัจจุบันการใช้งานน้ำใต้ดินจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบและควบคุมอย่างเหมาะสม เพราะหากชั้นน้ำที่อยู่ใต้ดินหายไป หรือหมดไปอย่างรวดเร็วก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาดินทรุดที่เป็นอันตรายต่ออาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างมาก และเนื่องจากเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดิน ดังนั้นแหล่งน้ำประเภทนี้จึงมักกลายเป็นแหล่งสะสมของมลพิษต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ และพื้นผิวโลกได้โดยตรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะแหล่งน้ำบาดาลที่อยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่หากมลพิษอย่างสารเคมี และน้ำเสียเกิดการรั่วไหลโดยไม่มีการควบคุม มลพิษต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะซึมลงไปใต้ดินและเข้าสู่แหล่งน้ำบาดาลได้ ดังนั้นจึงมีกฎหมายกำหนดคุณภาพของน้ำบาดาลเอาไว้อย่างกฎกระทรวงควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ําใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน พ.ศ. 2559 ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้จะมีการกำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดส่งรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมประจำจังหวัดด้วย ซึ่งรายละเอียดตามข้อกำหนดกฎหมายเหล่านี้แสดงถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำที่อยู่ใต้ดินอย่างสม่ำเสมอ อันเนื่องมาจากเหตุผลต่อไปนี้

น้ำประเภทนี้จึงมักกลายเป็นแหล่งสะสมของมลพิษต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ และพื้นผิวโลกได้โดยตรง

สาเหตุที่ต้องรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำที่อยู่ใต้ดินอย่างสม่ำเสมอ

  1. การแพร่กระจายของมลพิษ เมื่อแหล่งน้ำใต้ดินตามธรรมชาติเกิดการปนเปื้อนของมลพิษ ย่อมหมายถึงการแพร่กระจายอย่างควบคุมไม่ได้ บางครั้งอาจกินบริเวณกว้างหลายสิบกิโลเมตร ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำบาดาลที่อยู่ระหว่างชั้นดินนั่น ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์ที่ใช้น้ำบาลนั้น ๆ ในการเจริญเติบโตและอยู่อาศัยได้ หากมนุษย์นับพืชและสัตว์นั้นมาบริโภคก็จะได้รับมลพิษโดยทางอ้อมเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
  2. ความยากลำบากในการบำบัด ในปัจจุบันมีหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถบำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพดีสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ซึ่งในกรณีของแหล่งน้ำผิวดินนั้นการบำบัดสามารถจัดการและตรวจสอบได้ง่าย เพราะสามารถควบคุมปริมาณแหล่งน้ำได้อย่างสะดวก แต่ในกรณีของน้ำบาดาลที่อยู่ใต้ดินการบำบัดจะทำได้ค่อนข้างยากและมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะจะต้องขุดเจาะลงไปในชั้นดินเพื่อนำน้ำขึ้นมาบำบัด แล้วนำกลับลงไปใหม่อีกครั้งเพื่อรักษาระดับปริมาณน้ำบาดาลให้เป็นปกติ ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะรักษาคุณภาพของน้ำบาดาลเอาไว้
  3. ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากน้ำใต้ดินสามารถแพร่กระจายไปตามชั้นผิวดินได้เป็นบริเวณกว้างมาก ๆ บางครั้งแม้จะพบการปนเปื้อนก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าการปนเปื้อนนั้นกินพื้นที่บริเวณกว้างเท่าใด เพราะต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงในการตรวจสอบเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นขนาดของชั้นดินที่มีน้ำอยู่ด้วยตาเปล่าได้ จึงยากจะคาดเดาถึงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อน นอกจากนี้น้ำคือองค์ประกอบสำคัญที่พืชและสัตว์ใช้เพื่อการดำรงชีวิต ดังนั้นน้ำใต้ดินที่มีมลพิษจึงสามารถส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ได้เป็นอย่างมากอีกด้วย และเมื่อมนุษย์บริโภคพืชและสัตว์ต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะมีโอกาสได้รับมลพิษเหล่านั้นตามไปด้วย

               ดังนั้นเมื่อทราบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อน้ำใต้ดินแล้ว การป้องกันการปนเปื้อนของมลพิษจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมควรให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในลักษณะดีอย่างยั่งยืน โดยภาคครัวเรือนก็สามารถป้องกันการปนเปื้อนได้ด้วยการลดการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันให้หน่อยที่สุด มีถังดักไขมันที่ช่วยบำบัดน้ำขั้นต้น และปล่อยสู่แหล่งน้ำทิ้งที่หน่วยงานภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้ ส่วนภาคอุตสาหกรรมโรงงานก็จำเป็นต้องกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลมลพิษส่วนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด จัดเตรียมระบบบำบัดมลพิษต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และมีการตรวจติดตามคุณภาพมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย หรืออากาศที่มีการปนเปื้อนมลพิษอย่างสม่ำเสมอก่อนปล่อยไปสู่ธรรมชาติอีกด้วย


บทสรุป

สาเหตุที่ต้องรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำที่อยู่ใต้ดินอย่างสม่ำเสมอ

1. การแพร่กระจายของมลพิษ
2. ความยากลำบากในการบำบัด
3. ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม


สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้าน บริการตรวจวัดคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security