เหตุผลที่พื้นที่อับอากาศเป็นอันตราย และมาตรการการจัดการที่เหมาะสม

เหตุผลที่พื้นที่อับอากาศเป็นอันตราย และมาตรการการจัดการที่เหมาะสม

เหตุผลที่พื้นที่อับอากาศเป็นอันตราย

อันตรายที่เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เชื่อว่าหลายคนคงผ่านตาเกี่ยวกับอันตรายในพื้นที่อับอากาศกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเสียชีวิตเมื่อลงไปขุดบ่อบาดาล หรือคนงานที่หมดสติเมื่อลงไปทำงานในบ่อปฏิกูล ซึ่งมักจะเป็นข่าวโด่งดังในทุก ๆ ครั้งที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว แต่คงยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว จึงขออธิบายก่อนว่าพื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คือสถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัด จนทำให้การระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ที่อยู่ภายในพื้นที่ดังกล่าว เมื่ออากาศไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานได้ อันเนื่องมาจากการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ สารไวไฟ ปริมาณออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ โดยมากคือพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นถัง อุโมงค์ ไซโล ท่อ ถ้ำ บ่อ เตา ห้องใต้ดิน หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีลักษณะปิดดังกล่าว โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาว่าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อับอากาศหรือไม่ ใช้หลักในการพิจารณาดังนี้

               1. พื้นที่ที่มีขนาดเล็ก ทำให้แก๊สหรือไอต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่นั้นไม่สามารถระบายออกไปได้ ส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ หากสูดดมแก๊สที่เป็นพิษเข้าไป หรือเมื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ รวมถึงแก๊สติดไฟที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

               2. พื้นที่ที่บุคคลอื่น ๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ไม่สามารถสังเกตเห็น หรือเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ยาก

               3. ช่องทางเข้า-ออก มักอยู่ห่างออกมา มีขนาดเล็ก หรือมีจำนวนจำกัด

               4. เป็นสถานที่ที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

               ดังนั้นหากต้องทำงานหรือเข้าไปในพื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานคนนั้น ๆ โดยเริ่มจากทำความรู้จักกับอันตรายที่แฝงอยู่ในพื้นที่อับอากาศ อันได้แก่

  1. อันตรายจากการขาดอากาศหายใจ เมื่อสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัด ทำให้การระบายอากาศไม่ดีเพียงพอ หรือในระหว่างที่ปฏิบัติงานอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีหรือชีวภาพจนทำให้ออกซิเจนในพื้นที่ลดน้อยลง จนเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ ได้
  2. อันตรายที่เกิดบรรยากาศที่มีพิษ เมื่อพื้นที่มีปฏิกิริยาทางเคมี หรือมีการสะสมของสารพิษที่พื้นที่อับอากาศนั้นไม่สามารถระบายสารพิษนั้นออกไปได้ สารพิษดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของก๊าซ ไอ ฝุ่น ควัน ละออง หรือของเหลวก็ได้ เมื่อผู้ปฏิบัติงานได้รับ หรือสัมผัสเข้าไปด้วยการสูดหายใจก็จะทำให้หมดสติ ระบบการหายใจล้มเหลว หมดสติ และเสียชีวิตได้
  3. อันตรายที่เกิดจากบรรยากาศที่ไวไฟ มักเกิดขึ้นเมื่อสถานที่นั้น ๆ มีระดับของไอระเหยจากสารไวไฟ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี หรือเกิดตกค้างจากลักษณะที่อับอากาศจนถึงระดับที่สามารถติดไฟ หรือเกิดการระเบิดได้ รวมถึงหากภายในสถานที่อับอากาศมีปริมาณออกซิเจนสูงผิดปกติ ซึ่งทำให้เมื่อเกิดการลุกไหม้หรือระเบิดก็จะมีระดับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น
  4. อันตรายที่เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเกิดจากสภาพพื้นที่การทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นคับแคบ สภาพที่ชื้นแฉะ มีสิ่งกีดขวาง หรือรกรุงรัง หรือเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา เช่นการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลาเพราะมีระยะเวลาจำกัด หรือการปฏิบัติที่ต้องทำซ้ำ ๆ รวมถึงอันตรายที่มาจากลักษณะท่าทาง และอิริยาบถในการที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งคุ้ดคู้ทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ การใช้งานที่ต้องยกของหนัก ๆ
  5. อันตรายจากสิ่งแวดล้อม เช่น
  6. เสียงที่ดังเกินไป อันเนื่องมาจากการทำงานของเครื่องจักต่าง ๆ ยิ่งอยู่ในสถานที่อับอากาศเสียงก็จะยิ่งดังขึ้น
  7. แรงสั่นสะเทือน แรงสั่นสะเทือนที่มาจากการทำงานของเครื่องจักรจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะที่ได้รับแรงสั่นสะเทือน อาจทำให้หลอดเลือดตีบ ปลายประสาทอักเสบ หรือเสื่อมสภาพ หรือเกิดความผิดปกติที่กระดูกข้อมือ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  8. สิ่งที่ตกกระแทก เพราะสถานที่อับอากาศนั้นมักแวดล้อมไปด้วยพื้น ผนัง และวัสดุต่าง ๆ รอบตัวที่อาจตกหล่นลงมาทำให้บาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจมาจากการตกกระแทกของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ หรือจากแสงสว่างที่น้อยเกินไป
  9. อุณหภูมิที่ผิดปกติ ภายในพื้นที่อับอากาศ มักมีลักษณะอุณหภูมิที่ผิดปกติ เพราะอากาศไม่สามารถไหลเวียนถ่ายเทได้ตามปกติ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ หรืออาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ เกิดความเครียด อ่อนเพลีย หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
  10. อันตรายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า หลายครั้งที่การปฏิบัติงานในที่อับอากาศนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร ซึ่งอาจทำให้มีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจนเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  11. อันตรายทางชีวภาพ ได้แก่
  12. การติดเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะสถานที่อับอากาศมักมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
  13. อันตรายจากสัตว์มีพิษ สถานที่อับอากาศ มักมีสัตว์มีพิษอาศัยอยู่ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานได้

มาตรการการจัดการที่เหมาะสม

ทำในงานพื้นที่อับอากาศ
พื้นที่ที่มีขนาดเล็ก ทำให้แก๊สหรือไอต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่นั้นไม่สามารถระบายออกไปได้

  เมื่อทราบถึงอันตรายและที่มาของการทำงานในพื้นที่อับอากาศแล้ว ควรนำมากำหนดแนวทางการป้องกันความปลอดภัยเมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศ ดังมีขั้นตอน ดังนี้

  1. สำรวจสถานที่ทำงานว่าเป็นสถานที่อับอากาศหรือไม่ หากเป็นพื้นที่อับอากาศควรติดป้ายเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบก่อนว่าเป็นสถานที่อับอากาศ เพื่อให้รู้ตัวว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
  2. การขออนุญาตเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา
  3. ผู้ควบคุมงานต้องมีความรู้ความสามารถ เพื่อควบคุมให้การปฏิบัติงานมีความปลอดภัย อย่างการกำหนดแผนการทำงานให้อยู่ในระยะเวลาปลอดภัย เตรียมป้องกันอันตรายในสถานที่อับอากาศก่อน อบรมและควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  4. จัดเตรียมให้มีการช่วยเหลือเอาไว้ล่วงหน้า ด้วยการอบรมผู้ปฏิบัติงาน และเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
  5. ตรวจสอบสถานที่อับอากาศก่อนปฏิบัติงาน เพื่อดูว่ามีปริมาณออกซิเจน ก๊าซพิษ และสารที่เป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด
  6. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม อย่างสายรัดลำตัวป้องกันการตก อุปกรณ์ป้องกันหูจากเสียงดัง และแสงสว่างที่เพียงพอกับการทำงาน
  7. การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ป้องกันเหตุไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร
  8. การจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารที่เพียงพอ เผื่อในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินจะได้เข้าให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
  9. การกำหนดข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ เช่นห้ามสูบบุหรี่ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ หรือห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าออกพื้นที่อับอากาศ ซึ่งควรกำหนดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน และควรฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security