เทคนิคการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงาน

เทคนิคการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงาน

    โรงงานสถานที่ผลิตคือสถานที่มีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมาย และในแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะมีขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ ทำให้โรงงานกลายเป็นแหล่งที่เกิดของเสียต่าง ๆ ขึ้นมามากมายโดยเฉพาะน้ำเสียที่หากปนเปื้อนออกไปในสภาพแวดล้อมก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ ยิ่งปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ก็อาจทำให้การนำไปใช้งานเพื่อการบริโภคและทำการเกษตรมีอันตรายได้ เกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานขึ้นมา ซึ่งการบำบัดน้ำเสียหมายถึงการขจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ในน้ำเสียให้หมดไป หรือให้เหลือในปริมาณที่น้อยที่สุดตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

แต่เนื่องจากกิจกรรมภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างโรงงานอาหารน้ำเสียก็มักมีการปนเปื้อนของเศษอาหาร คราบไขมัน และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ แต่ในส่วนของโรงงานเยื่อกระดาษน้ำเสียก็มักมีการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ หรืออุตสาหกรรมไฟฟ้าน้ำเสียก็จะมีการปนเปื้อนของโลหะและสารเคมีชนิดต่าง ๆ ดังนั้นระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานจึงมีความแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไป

โรงงานสถานที่ผลิตคือสถานที่มีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมาย และในแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะมีขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ ทำให้โรงงานกลายเป็นแหล่งที่เกิดของเสียต่าง ๆ ขึ้นมามากมายโดยเฉพาะน้ำเสียที่หากปนเปื้อน

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานสามารถแบ่งประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียได้ดังนี้

1. การบำบัดน้ำเสียขั้นต้นเป็นขั้นตอนการบำบัดทางกายภาพ

โดยแยกสิ่งสกปรกที่มีขนาดใหญ่ เป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำออกไป เป็นการแยกโดยใช้ตะแกรง หรือทำให้เกิดการตกตะกอนในถังตกตะกอน เรียกว่าการทำ Sludge เป็นขั้นตอนที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันภายในท่อระบายน้ำ ป้องกันความเสียหายของเครื่องสูบน้ำ และขั้นตอนการบำบัดนี้ยังรวมถึงการขจัดไขมันด้วยถังดักไขมันด้วย

2. การบําบัดน้ำเสียขั้นที่ 2 เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย

ในโรงงานเพื่อลดความสกปรกของน้ําเสียโดยวิธีทางเคมีหรือชีวภาพ สารเคมีและจุลินทรีย์ที่ใช้จะขึ้นกับลักษณะและปริมาณของน้ำเสียที่เกิดขึ้น ตัวอย่างขั้นตอนการบำบัดนี้คือการบำบัดด้วยจุลินทรีย์แบบสังเคราะห์ด้วยแสง และจุลินทรีย์แบบไม่สังเคราะห์ด้วยแสง รวมถึงการปรับค่า pH ของน้ำด้วยสารเคมี เป็นต้น

3. การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง

เป็นกระบวนการกําจัดสารเคมีอย่างไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่จุลินทรีย์ใช้เพื่อการเจริญเติบโต สี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และสารพิษอื่น ๆ ที่ไม่สามารถกำจัดด้วยกระบวนการบําบัดน้ำเสียในขั้นที่ 2 เป็นระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น หรือเพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีจนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่

               อย่างไรก็ดีเพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานมีประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเสีย จำเป็นต้องพิจารณาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีความเหมาะสม สามารถจัดการกำจัดน้ำเสียในปริมาณที่เกิดขึ้น สามารถจัดการกับของเสียและสิ่งที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

เทคนิคการจัดการกับของเสียและสิ่งที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

1. ปริมาณน้ำเสียของโรงงาน

ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละโรงงานนั้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับปริมาณน้ำทิ้งที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการทำงาน และปริมาณผลิตของโรงงานนั้น ๆ ดังนั้นหากต้องการวางระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานให้เหมาะสม ควรพิจารณาจากปริมาณน้ำทิ้งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุด และต้องพิจารณาให้ครบถ้วนในทุก ๆ ขั้นตอนการทำงานว่ามีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นเท่าใด

2. ลักษณะของน้ำเสียที่เกิดขึ้นของโรงงาน

น้ำทิ้งที่เกิดจากโรงงานสถานที่ผลิตแต่ละประเภทนั้นจะมีสารพิษ สิ่งสกปรก และปริมาณตะกอนที่แตกต่างกัน อย่างโรงงานอาหารนอกจากจะมีเศษอาหารที่ต้องกำจัดแล้ว ยังมักมีปริมาณไขมันปนเปื้อนในปริมาณที่สูงอีกด้วย แต่ในกรณีของโรงงานผลิตยาอาจมีสารเคมีจากยาปนเปื้อน แต่ไม่มีการปนเปื้อนของไขมันได้

3. กฎหมายหรือมาตรฐานที่กำหนด

ในปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นปัญหาสำคัญที่หน่วยงานของรัฐต่างให้ความสำคัญ ดังนั้นจึงมีการกำหนดมาตรฐานและรายละเอียดของค่าคุณภาพของน้ำทิ้งที่จะระบายออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้ ดังนั้นก่อนจัดเตรียมระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำเสียที่เกิดขึ้นภายในโรงงานก่อนว่ามีสารปนเปื้อนใดบ้าง และมีปริมาณเท่าใด สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และเมื่อผ่านการบำบัดแล้วคุณภาพของน้ำเสียนั้นดีขึ้น หรือสอดคล้องกับค่ามาตรฐานของกฎหมายหรือไม่

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัด

ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดในแต่ละขั้นตอนนั้นแตกต่างกัน อย่างกรณีของถังตกตะกอน หากตะกอนในน้ำเสียมีลักษณะแขวนลอยและมีอนุภาคขนาดเล็ก ๆ มาก ๆ อาจต้องใช้เวลาในถังตกตะกอนที่นานมากขึ้น อาจต้องพิจารณาเพิ่มถังพักน้ำเสีย หรือขนาดของถังตกตะกอนให้เหมาะสมกับการบำบัดด้วย

5. ผู้ให้บริการจัดวางระบบบำบัดน้ำเสีย

ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นในกรณีที่โรงงานกำลังพิจารณาทำระบบบำบัดน้ำเสียควรพิจารณาเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ มีทีมงานที่เข้ามาดูแลพร้อมแนะนำวิธีการจัดการะบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีที่สุด

               เพราะปัญหาน้ำเสียนับเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ดังนั้นการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานที่เหมาะสมจึงจำเป็นเป็นอย่างมาก และมีรายละเอียดที่แต่ละโรงงานจะต้องพิจารณาก่อนการวางระบบ ทั้งลักษณะของสารปนเปื้อน และสารที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำเสีย ปริมาณของน้ำเสียที่ต้องจัดการบำบัด และมาตรฐานของน้ำเสียที่จะต้องบำบัดให้ได้ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะต่อไป ซึ่งเมื่อจัดวางระบบบำบัดน้ำเสียแล้วต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียด้วย เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างเหมาะสมด้วย


บทสรุป

ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานสามารถแบ่งประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียได้ดังนี้

เทคนิคการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงาน

1. การบำบัดน้ำเสียขั้นต้นเป็นขั้นตอนการบำบัดทางกายภาพ
2. การบําบัดน้ำเสียขั้นที่ 2 เป็นระบบบำบัดน้ำเสีย
3. การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง

เทคนิคการจัดการกับของเสียและสิ่งที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

น้ำเสีย ในโรงงาน

1. ปริมาณน้ำเสียของโรงงาน
2. ลักษณะของน้ำเสียที่เกิดขึ้นของโรงงาน
3. กฎหมายหรือมาตรฐานที่กำหนด
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัด
5. ผู้ให้บริการจัดวางระบบบำบัดน้ำเสีย


สนใจใช้บริการกับทาง Siammat ด้านการ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Your Environmental Management Must Be Better
“เราอยากให้การจัดการสิ่งแวดล้อมของคุณดีขึ้น”

ติดต่อเราได้ที่

Head Office
02-8137550-1
02-8137552

Amata City Chonburi
089-2012642

Share:

More Posts

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

FacebookFacebookXTwitterLINELineในปัจจุบันมีบริษัทสำหรับตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ให้กับตามโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ซึ่งบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสามารถจัดตั้งเป็นบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาได้ การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการตรวจวัดเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมมีระบบนิเวศที่ดีและได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพอากาศ น้ำ และกากอุตสาหกรรม โดยบริษัทตรวจวัดฯจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้และความชำนาญเข้ามาจัดการระบบให้มีประสิทธิภาพ หน้าที่ของบริษัทตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ให้บริการในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำตัวอย่างไปทดสอบเพื่อทำการวิเคราะห์ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับมาตราฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา การติดตามมาตรการการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาการติดตามมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คืออะไร และงานล้างพื้นที่อับอากาศมีความสำคัญและควรเตรียมการอย่างไรบ้าง

FacebookFacebookXTwitterLINELineพื้นที่อับอากาศหรือ Confined Space คือ สถานที่ หรือพื้นที่ทำงาน ที่มีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศที่ธรรมชาติน้อย ทำให้อากาศถ่ายเทหมุนเวียนภายในอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมี สารพิษ สารไวไฟ รวมถึงออกซิเจนที่ไม่เพียงพอด้วย เช่น ในถ้ำ  อุโมงค์ บ่อน้ำ หลุม ห้องใต้ดิน ถังน้ำมัน ห้องนิรภัย หรือแม้แต่ภาชนะ หรือสิ่งที่คล้ายๆกัน ซึ่งส่งผลต่อออกซิเจนที่มีไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ปลอดภัย

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

ขึ้นทะเบียนผู้ควบคุม

FacebookFacebookXTwitterLINELineผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมมลพิษประเภทต่างๆ ต้องผ่านการสอบวัดประเมินผลในความสามารถตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ซึ่งขั้นตอนและวิธีการขึ้นทะเบียนมีดังนี้ 1. ผู้ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต้องสอบผ่านการสอบมาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดสอบขึ้น โดยมีการแบ่งประเภทของผู้ควบคุมเป็น 3 ประเภทได้แก่ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ -ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษกากอุตสาหกรรม 2. ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับประกาศนียบัตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่าน และสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่สอบผ่านที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 3. ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบได้มากกว่า 1 ประเภท และสามารถขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้มากกว่า 1 ประเภท 4. ผู้ที่สอบผ่านและขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมต้องต่ออายุการขึ้นทะเบียนทุกๆ

EIA Monitoring มีความสำคัญอย่างไร

FacebookFacebookXTwitterLINELineEIA Monitoring หรือ Environmental Impact Assessment คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในทางที่ดี และทางที่ไม่ดี อันเกิดจากการพัฒนาโครงการ หรือกิจการที่สำคัญ หรือมีขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และใช้ประกอบการตัดสินใจพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการกิจการ ผลการศึกษาต้องจัดทำเป็นเอกสาร เรียกว่ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงงานประเภทที่เข้าข่ายการจัดทำ EIA ตามที่กฎหมายกำหนดต้องจัดทำรายงาน Monitor ส่งหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง

Send Us A Message

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security