Siammat เป็นบริษัทรับบริการรับดูแลระบบบ่อบำบัดน้ำเสียในโรงงานและอาคารอุตสาหกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่ต้องทำในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อเป็นการกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ สารอินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียออกทิ้งไป และเพื่อช่วยให้มีน้ำดีน้ำใช้ที่ได้คุณภาพให้กับประชาชนได้ดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย
ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง
การกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือ เหลือเล็กน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนด และ ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ก่อนจะไปที่ การบำบัดน้ำเสีย เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า น้ำเสีย กันก่อนว่าหมายถึงอะไร
น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในปริมาณที่สูง จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการและนำพาความรังเกียจของคนทั่วไป ซึ่งน้ำเสียก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น แม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งรับของเสียที่มาจากแหล่งต่าง ๆ เมื่อเกินขอบเขตของการรับได้ของแหล่งน้ำนั้น ๆ จะก่อให้เกิดการเน่าเหม็น หรือเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งสิ่งเจือปนที่ทำให้กลายเป็นน้ำเสียได้แก่
- สารอินทรีย์ต่าง ๆ ทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ
- กรดต่าง ๆ และเกลือชนิดต่าง ๆ
- ของแข็งหรือตะกอนแขวนลอย
- น้ำมัน ไขมัน
- แร่ธาตุที่เป็นพิษ
- ความร้อน
- สารที่ทำให้เกิดฟอง
- สารพิษต่าง ๆ
ประเภทของน้ำเสีย
น้ำเสียที่มาจากแหล่งต่าง ๆ จะมีสารที่อยู่ในน้ำเสียไม่เหมือนกัน ซึ่งสารเหล่านั้นจะเป็นสารประเภทใดขึ้นอยู่กับแหล่งและกรรมวิธีในการผลิตในอุตสาหกรรมนั้น ๆ จึงได้มีการรวบรวมและแบ่งประเภทที่ให้ลักษณะเด่นของน้ำเสีย ซึ่งพอสรุปประเภทของน้ำเสียแบ่งออกได้ดังนี้
1.น้ำเสียประเภทที่มีสารอนินทรีย์
2.น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์
3.น้ำเสียประเภทที่แพร่กระจายเชื้อโรค
4.น้ำเสียที่มีโลหะหนักเป็นพิษ
5.น้ำเสียที่มีสารกัมมันตภาพรังสี
6.น้ำเสียที่มีความเป็นกรด เบสสูง
7.น้ำเสียที่มีอิฐ หิน ดิน ทราย ปะปนอยู่
โดยการแบ่งประเภทของน้ำเสียจะทำให้การเลือกระบบบำบัดน้ำเสียนั้นง่ายขึ้น แต่การจะเลือกระบบบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องหาลักษณะสมบัติต่าง ๆ ของน้ำเสียก่อนเสมอ ซึ่งมีลักษณะสมบัติทางกายภาพ ลักษณะสมบัติทางเคมี และลักษณะสมบัติทางชีวภาพ เป็นต้น
ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียเป็นสิ่งที่ต้องปฎิบัติ ดังนี้
เนื่องจากระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่อาศัยธรรมชาติเป็นตัวการบำบัด จึงต้องดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
1.การควบคุมดูแลการระบายน้ำให้สม่ำเสมอ
2.การตัดหญ้ารอบคันบ่อ เดือนละ 1 ครั้ง
3.การตรวจสภาพท่อส่งน้ำเสีย สภาพบ่อ เครื่องมือต่าง ๆ ตรวจสอบการรั่วซึมทุกวัน เพื่อทำการหาจุดบกพร่องและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนได้ทัน
4.อายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี โดยทุก ๆ 5-6 ปี ควรมีการลอกตะกอนไปกำจัด หรือ ใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทุก 15 ปี ด้วยสภาพดินที่บดอัดจะมีการคลายตัวทำให้บ่อเกิดรั่วซึมมากขึ้น ดังนั้น เมื่อครบกำหนดอายุแล้วควรระบายน้ำออกเพื่อตากบ่อและบดอัดใหม่
สุดท้ายในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม โรงงานผลิต และประชาชน ร่วมมือกันไม่ปล่อยน้ำเสีย น้ำที่เป็นพิษ ลงสู่ลำคลอง แม่น้ำโดยจะต้องหาวิธีการในการกำจัดน้ำเสียให้ได้ประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษทางสายน้ำ และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน.