learning from reading

Blogs

reading is everything

important milestones

Lorem ipsum dolor sit amet, conetur adiping elit Lorem ipsum dolor sit amet, cons ectetur adipiscing elit Lorem ipsum dolor sit altmet, conse ctetur adipiscing elit aloma lomiur off silder tolos. Lorem ipsum dolor sitlor amet, conetur adiping elit Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit.
น้ำใต้ดิน

รูปแบบระบบเติมน้ำใต้ดินมีอะไรบ้าง และสำคัญอย่างไร

               น้ำใต้ดิน คือ น้ำที่ถูกกักเก็บเอาไว้ระหว่างช่องว่างของเม็ดแร่ ดินและหิน ซึ่งน้ำอาจไม่ลักษณะไม่อิ่มตัวหากช่องว่างที่กักเก็บไว้มีการเคลื่อนไหวระหว่างน้ำและอากาศมักเรียกว่าน้ำในดิน หรือ Soil Water แต่หากน้ำที่อยู่ใต้ดินอยู่ลึกลงไปมากจนอยู่ระหว่างช่องว่าง รอยแตกหรือโพรงของชั้นหินมักเรียกว่าน้ำบาดาล หรือ Ground Water ซึ่งหินที่โอบอุ้มน้ำที่อยู่ภายใต้ดินในลักษณะนี้มักมีลักษณะเป็นหินอุ้มน้ำเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ น้ำในบริเวณลักษณะอิ่มตัว แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือที่เรียกว่าวัฎจักรของน้ำระหว่างไอน้ำ น้ำบนดิน และน้ำที่อยู่ใต้ดินนั่นเอง                อย่างไรก็ดีบางครั้งน้ำใต้ดินอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างผิดปกติ อาจเนื่องมาจากมีการดึงไปใช้งานมากผิดปกติ หรือเกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่องนานหลายปี เกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำระบบเติมน้ำใต้ดินมาใช้แก้ไขปัญหาน้ำที่อยู่ใต้ดิน

พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คืออะไร

               พื้นที่อับอากาศ (Confined Space) คือสถานที่ทำงานซึ่งมีเนื้อที่จำกัด ทางเข้าออกมักคับแคบ จึงส่งผลให้ความร้อนและอากาศระบายได้ไม่เพียงพอ จนเกิดการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต หรือเป็นสารไวไฟ หรือมีระดับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ลักษระของพื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวได้แก่ถังบรรจุน้ำมัน ถังหมักด้วยจุลินทรีย์ ไซโลเก็บของแห้ง ท่อขนาดใหญ่ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตาขนาดใหญ่ หรือห้องใต้ดิน เมื่อแก๊สหรือไอที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศไม่สามารถระบายออกไปได้ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายในอาจสูดดมแก๊สพิษที่สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าวเข้าไปในร่างกาย ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ หรือหากเกิดการสะสมของแก๊สที่ติดไฟได้ง่าย ก็อาจส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้

พื้นที่อับอากาศ

ความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ

               การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานในออฟฟิส การทำงานก่อสร้าง หรือการทำงานใด ๆ ก็ล้วนมีอันตรายแอบแฝงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งเป็นการทำงานในพื้นที่พิเศษมีลักษณะเฉพาะอย่างการทำงานในพื้นที่อับอากาศก็ยิ่งมีข้อควรระวังและใส่ใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยลักษณะของสถานที่อับอากาศมักยากต่อการเข้าถึง มีขนาดพื้นที่จำกัดทำให้การให้ความช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก และอันตรายหลายประเภทในสถานที่อับอากาศยังยากต่อการมองเห็นหรือสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณออกซิเจนที่น้อยจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การสะสมของก๊าซพิษหรือก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตรายโดยที่ไม่สามารถมองเห็นหรือได้กลิ่น กว่าจะรับรู้ถุงอันตรายก็เมื่อร่างกายเกิดอาการ อาจหน้ามืด เป็นลม หรือระบบทางเดินหายใจเกิดความเสียหายได้                ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นทำให้อันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่อับอากาศมีความรุนแรงต่อชีวิตเป้นอย่างมาก การจัดการและบริหารความปลอดภัยในพื้นที่ลักษณะนี้จึงมีการกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย หรืออันตรายในระดับที่สามารถควบคุมและจัดการได้ ขอยกตัวอย่างประเภทของอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศและมาตรการในการจัดการอย่างเหมาะสมดังนี้ อันตรายจากปริมาณออกซิเจนที่น้อยหรือมากเกินไป เมื่อสถานที่อับอากาศเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการถ่ายเทของอากาศที่ดี

น้ำใต้ดิน

ข้อดีข้อเสียของการใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน

               ถังเก็บน้ำใต้ดิน ถือเป็นวิธีการจัดการน้ำรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างเป็นอย่างมาก เพราะน้ำคือทรัพยากรสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกใบนี้ เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกประเภท รวมทั้งมนุษย์ด้วย ซึ่งในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการกักเก็บน้ำสมัยใหม่ ทำให้ภาวะคลาดแคลนน้ำเกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งปัญหาการขาดแคลนน้ำก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ จึงเกิดเป็นความจำเป็นที่จะต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น ซึ่งการใช้ถังสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ใต้ดินก้เป็นอีกวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประเภทของถังเก็บน้ำใต้ดินโดยทั่วไปมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ถังเก็บน้ำแบบคอนกรีต มักมีรูปแบบไม่แน่นอนสามารถปรับขึ้นรูปได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีความแข็งแรงทนทาน สามารถกักเก็บน้ำได้ในปริมาณมาก ๆ ถังเก็บน้ำแบบพลาสติก มักประกอบขึ้นจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความคงทน แข็งแรง ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย

ผู้ควบคุมมลพิษคือใคร มีความสำคัญอย่างไร

ผู้ควบคุมมลพิษคือใคร มีความสำคัญอย่างไร

ผู้ควบคุมมลพิษ คือ                ผู้ควบคุมมลพิษ คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการจัดการและดูแลมลพิษที่เกิดในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้จำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดกสนกับมลพิษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมระบบบำบัดมลพิษได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยสามารถแบ่งตามประเภทของมลพิษที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ ผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม                โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายหรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือ สิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม กำหนด คุณสมบัติของผู้ควบคุม

น้ำใต้ดิน ดัชนีชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรน้ำที่สำคัญ

น้ำใต้ดิน ดัชนีชี้วัดคุณภาพของทรัพยากรน้ำที่สำคัญ

แหล่งน้ำธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ น้ำในบรรยากาศ หรือไอน้ำและเมฆฝน น้ำผิวดินหรือน้ำท่า หรือน้ำตามแหล่งน้ำอย่างแม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ และน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล การไหลเวียนของน้ำมีลักษณะเป็นวัฎจักร กล่าวคือน้ำในบรรยากาศจะตกลงมาสู่พื้นโลก บางส่วนจะถูกกักเก็บเอาไว้ตามแหล่งน้ำผิวดิน อย่างแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ต่าง ๆ แต่จะมีน้ำผิวดินบางส่วนที่ไหลซึมลงไปสู่ใต้ดิน ซึ่งน้ำเหล่านี้จะถูกกักเก็บไว้ในช่องว่างระหว่างชั้นดิน ชั้นหิน ชั้นตะกอน หรือชั้นกรวด

ทำไมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศต้องได้รับการฝึกอบรม

ทำไมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศต้องได้รับการฝึกอบรม

               พื้นที่อับอากาศ คือบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดเพียงพอที่คนสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ แต่มีทางเข้าออกน้อย หรือจำกัดมักมีเพียง 1 – 2 ทางเข้าออกเท่านั้น ตัวอย่างเช่นถังไซโล ห้องนิรภัย ถ้ำ อุโมงค์ หลุมที่มีขนาดใหญ่ ท่อ แทงค์น้ำ พื้นที่ใต้พื้นอาคาร เป็นต้น นอกจากทางเข้าออกจะมีจำกัดแล้ว ยังอยู่ไกลจากบริเวณที่ต้องปฏิบัติงาน หรือมีขนาดคับแคบอีกด้วย มักเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งด้วยลักษณะเช่นนี้ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ง่าย

เทคนิคการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงาน

เทคนิคการเลือกระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงาน

    โรงงานสถานที่ผลิตคือสถานที่มีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมามากมาย และในแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะมีขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ ทำให้โรงงานกลายเป็นแหล่งที่เกิดของเสียต่าง ๆ ขึ้นมามากมายโดยเฉพาะน้ำเสียที่หากปนเปื้อนออกไปในสภาพแวดล้อมก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ ยิ่งปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ก็อาจทำให้การนำไปใช้งานเพื่อการบริโภคและทำการเกษตรมีอันตรายได้ เกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานขึ้นมา ซึ่งการบำบัดน้ำเสียหมายถึงการขจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ในน้ำเสียให้หมดไป หรือให้เหลือในปริมาณที่น้อยที่สุดตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด แต่เนื่องจากกิจกรรมภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างโรงงานอาหารน้ำเสียก็มักมีการปนเปื้อนของเศษอาหาร คราบไขมัน และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ

พื้นที่อับอากาศคือพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัดทางเข้าออก มีจำนวนน้อยหรือมีขนาดคับแคบ

Confined Space คืออะไร เป็นอันตรายอย่างไร

อันตรายจากการทำงานในพื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Space คืออะไร ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นที่อับอากาศคือพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัดทางเข้าออก มีจำนวนน้อยหรือมีขนาดคับแคบ และมีการระบายอากาศได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้อากาศภายในพื้นที่ลักษณะนี้มีสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ปลอดภัย มักไม่สามารถทำงานในพื้นที่อับอากาศได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะของพื้นที่นี้ได้แก่ อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังบรรจุน้ำมัน ถังในกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ ถังไซโล ท่อ เตา และภาชนะที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าไปได้ หรือลักษณะอื่น

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

การตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียควรมีรายละเอียดใดบ้าง

น้ำเสียคืออะไร               น้ำเสียคือน้ำที่ได้รับผลกระทบด้านคุณภาพจากการใช้งานของมนุษย์ โดยทั่วไปมีที่มาจากแหล่งน้ำเสียใหญ่ ๆ 2 แหล่งคือแหล่งชุมชนภาคครัวเรือน และจากโรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งน้ำเสียที่เกิดขึ้นจะต้องถูกส่งไปบำบัดที่โรงงานบำบัดน้ำเสีย หรือปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรืออาจมีการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการที่จะทราบได้ว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดนั้นมีคุณภาพที่ดีเพียงพอหรือไม่ก็ต้องพิสูจน์ด้วยการตรวจวัดคุณภาพน้ำให้ดีเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ น้ำเสียจากแหล่งชุมชน คืออะไร                น้ำเสียจากแหล่งชุมชน คือน้ำเสียที่เกิดจากกิจวัตรประจําวัน หรือกิจกรรมที่เป็นอาชีพ น้ำเสียที่เกิดขึ้นมักประกอบไปด้วยเศษอาหาร

ตรวจวัดคุณภาพน้ำ

งานสิ่งแวดล้อมกับตรวจวัดคุณภาพน้ำ

ขั้นตอนตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ดี การสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำเสียและน้ำทิ้ง เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเพราะส่งผลต่อความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของผลการวิเคราะห์น้ำเป็นอย่างมาก เมื่อจะสุ่มเก็บตัวอย่าง ควรเลือกสุ่มตัวอย่างน้ำที่เกิดจากทุกระบบของกระบวนการของการบำบัดน้ำเสีย เพื่อตรวจสอบว่าระบบบำบัดเหล่านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยเฉพาะจุดรวบรวมน้ำเสียก่อยปล่อยออกสู่สาธารณะ วิธีการเก็บตัวอย่าง เมื่อเลือกสถานที่สุ่มตัวอย่างน้ำแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน้ำ ควรเลือกระดับที่ทำการเก็บตัวอย่างน้ำที่ความลึกประมาณครึ่งหนึ่งของบ่อ หรือสถานที่สุ่มเก็บตัวอย่าง โดยเลือกจากส่วนต่าง ๆ หลายๆ จุด แล้วนำมารวมกันเอาไว้ในถัง ก่อนใส่ขวดสำหรับส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์น้ำต่อไป ปริมาณของน้ำตัวอย่างเมื่อน้ำตัวอย่างถูกส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการหรือห้องที่ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำจะถูกนำไปทำละลายกับสารเคมีและผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้ค่าคุณภาพต่าง ๆ ทำให้ปริมาณน้ำที่ต้องใช้วิเคราะห์น้ำค่าต่าง ๆ

งานล้างพื้นที่อับอากาศ มีความสำคัญและต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง

พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined Space คือ สถานที่ที่มีทางเข้าออกอย่างจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติน้อย ส่งผลให้อาจมีออกซิเจนไม่เพียงพอกับสุขภาพของผู้ที่เข้าไปในพื้นที่ และอาจทำให้สภาพอากาศภายในมีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย อย่างการสะสมของสารเคมีที่เป็นพิษ หรือไวไฟ ตัวอย่างสถานที่ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่อับอากาศได้แก่ถังน้ำมัน ถ้ำ ถังหมักปุ๋ย ไซโลชนิดต่าง ๆ ห้องที่ทางเดินที่อยู่ใต้ดิน ท่อ ถัง บ่อ อุโมงค์ เตา ภาชนะหรือโครงสร้างอื่น ๆ

Free Environmental Law Update

อัพเดทกฎหมายสิ่งแวดล้อม ฟรี!

รับสิทธิ์ง่ายๆ เพียงกรอก Email ของคุณด้านล่าง

เราจะส่งอัพเดทกฎหมายใหม่ที่ประกาศในราชกิจจา ประจำเดือน โดยจะคัดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้ท่านสะดวกในการนำไปประเมินความสอดคล้องในองค์กรของท่านต่อไป

Sign up for free

Malcare WordPress Security